POONUDOM

หน้าหลัก หน้าหลัก ผลิตภัณฑ์ วิสัยทัศน์ อัลบั้มภาพ สาระน่ารู้ ติดต่อเรา

Commodities are powered by Investing.com
Free Counter
Hit Counter
สาระน่ารู้

กรดไฮโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid)  

หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดพลัสสิค (Prussic acid)   พบในพืชบางชนิดโดยจะมี

ปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูงสุดในระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโตและจะลดลงเมื่อ

พืชเจริญเติบโตเต็มที่แล้วปัจจัยอื่นๆเช่นความเข้มข้นของปริมาณแร่ธาตุในดินมีผลต่อก ารเปลี่ยนแปลงปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคเช่นเดียวกัน พืชที่ขึ้นในดินที่อุดมสมบูรณ์จะมี

กรดไฮโดรไซยานิคสูงกว่าในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์และในพืชต้นเดียวกันส่วนยอดจะมี

ปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคสูงสุดรองลงมา คือ ใบ ต้น ราก ก้านใบ หัว และเปลือก

ตามลำดับ น้อยที่สุดได้แก่ส่วนต้นและกิ่งพืชอาหารสัตว์ที่พบว่ามีกรดไฮโดรไซยานิคใน

ระดับสูง ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง หญ้าจอห์สัน หญ้าซอกั้ม หญ้าเพ็ก หญ้าซูแด๊กซ์ เป็นต้น

อาการของสัตว์ที่เกิดจากสารพิษของกรดไฮโดรไซยานิค คือ กล้ามเนื้อขาด

ออกซิเจนทำให้หายใจขัด ตัวสั่น ชักกระตุก และอาจถึงตายได้ในรายที่รุนแรงจะแสดง

อาการภายใน10-15 นาที  และตายภายใน 2-3 นาที หลังจากแสดงอาการ  ระดับต่ำสุด

ของกรดไฮโดรไซยานิคที่สามารถทำให้เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์  คือ 2.315 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัว1 กิโลกรัม และถ้าสัตว์ได้รับปริมาณกรดไฮโดรไซยานิค 4 มิลลิกรัม/น้ำหนัก

ตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้เกิดพิษรุนแรงต่อสัตว์ และอาจทำให้สัตว์ตายได้


Commodities are powered by Investing.com
Free Counter
Hit Counter